ในการแต่งงานทุกครั้งหลังจากที่ได้จบงานแต่งแล้วนั้นคู่บ่าวสาวก็ถือว่าได้เป็นสามีและภรรยากันอย่างถูกกฎหมาย ซึ่งก็แน่นอนค่ะว่าส่วนใหญ่แล้วก็จะเดินทางไปจดทะเบียนสมรสกันต่อ และก็เป็นที่ทราบกันดีค่ะว่าแต่ก่อนนั้นเวลาที่จดทะเบียนสมรสแล้ว ทางฝ่ายหญิงหรือภรรยาจะต้องเปลี่ยนไปใช้นามสกุลของฝ่ายสามีแบบอัตโนมัติ แต่ในปัจจุบันนั้นก็มีดการจดทะเบียนสมรสที่ไม่ต้องเปลี่ยนนามสกุลแล้วค่ะ ทำให้ผู้หญิงคนไหนที่ไม่ประสงค์จะเปลี่ยนก็สามารถใช้นามสกุลเดิมได้เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นเราก็มาดูกันดีกว่าค่ะว่าการ จดทะเบียนสมรส ไม่เปลี่ยนนามสกุล นั้นจะต้องทำอย่างไรและต้องเตรียมอะไรบ้าง
จดทะเบียนสมรส ไม่เปลี่ยนนามสกุล ทำยังไง มาดูกัน
การจดทะเบียนสมรส ถือเป็นการทำหลักฐานที่ว่าคุณและคู่ของคุณนั้นเป็นสามีและภรรยากันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งนั่นก็จะทำให้ผื่นได้ทราบเช่นกันว่าคุณได้แต่งงานกันแล้ว และการจดทะเบียนสมรสในปัจจุบันนั้นก็ค่อนข้างมีคามเสรีในเรื่องของการให้เลือกว่าจะเปลี่ยนนามสกุลหรือไม่หรือจะใช้คำแทนตัวเองว่านางหรือนางสาวก็ขึ้นยู่กับความต้องการของเราทั้งสิ้นค่ะ และวันนี้บทความของเราก็จะพาทุกท่านไปดูขั้นตอนและการเตรียมตัวต่าง ๆ ก่อนที่จะไปจดทะเบียนสมรสแบบไม่เปลี่ยนนามสกุลกันค่ะว่าต้องทำอย่างไรกันบ้าง
การเตรียมเอกสาร
สำหรับการจดทะเบียนสมรสนั้นก็ต้องไปที่เขตที่ท่านอยู่ค่ะ ซึ่งใกล้ที่ไหนก็ไปที่นั่น โดยสิ่งที่เราจะต้องเตรียมไปเมื่อไปจดทะเบียนสมรสนั้น ก็มีดังนี้ค่ะ
- บัตรประชาชนตัวจริง ที่ยังไม่หมดอายุของทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย
- ทะเบียนบ้านตัวจริงของทั้งสองฝ่าย ที่ดีควรถ่ายสำเนาไปเผื่อด้วยนะคะ
- พยาน 2 คน พร้อมกับบัตรประชาชน
- กรณีมีบุตร จะต้องเตรียมสูติบัตรหรือทะเบียนบ้านของบุตรไปด้วย
- สำหรับฝ่ายใดที่เคยแต่งงานและจดทะเบียนสมรสมาก่อนหน้าและหย่ามาก่อน จะต้องมีเอกสารการจดทะเบียนการหย่ามายืนยันด้วย
- กรณีที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะหรืออายุยังไม่ครบ 20 ปี บริบูรณ์นั้นจะต้องนำพ่อแม่หรือผู้ปกครองมาทำการยินยอมด้วย
- แบบฟอร์ม คร.1 หรือ คำร้องขอจดทะเบียนและบันทึกทะเบียนครอบครัว ซึ่งก็สามารถดาวน์โหลดจากทางเว็บไซต์ของเขตได้เลย หรือจะไปที่เขตแล้วไปเขียนที่นั่นเลยก็ได้เช่นเดียวกัน
การจดทะเบียนสมรสแบบไม่เปลี่ยนนามสกุล
เมื่อเราเตรียมเอกสารต่าง ๆ เสร็จสรรพเรียบร้อยแล้วก็จะต้องส่งเอกำสารเหล่านี้ให้กับทางเจ้าหน้าที่ค่ะ ซึ่งเมื่อส่งแล้วเขาก็จะให้เรานั่งรอสักพักไม่นานมากค่ะ และจะเรียกให้ไปสัมภาษณ์หรือสอบถามเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนสมรสนั่นเอง ซึ่งก็จะมีเรื่องของ “ความประสงค์ที่จะเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนนามสกุลของฝ่ายหญิง” “คำนำหน้าฝ่ายหญิงว่าจะเป็น นางสาว เช่นเดิม หรือจะเปลี่ยนเป็น นาง” และ “การแต่งงานครั้งนี้เกิดจากการยินยอมของทั้งฝ่ายใช่หรือไม่” คือจะต้องไม่ถูกบังคับมานั่นเอง อีกทั้งยังมีเรื่องของสินสอดหรือสินทรัพย์ต่าง ๆ ที่บางทีก็อาจจะถูกถามในเรื่องนี้ด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งในส่วนนี้ก็แนะนำว่าให้ตอบตามความจริงไปเลยค่ะ เพราะไม่ได้มีอะไรมาก มันก็เป็นคำถามทั่ว ๆ ไปนั่นแหละ
ซึ่งขั้นตอนต่อมานั้นก็อย่างที่ได้บอกไปค่ะว่าจำเป็นที่จะต้องนำพยานมาด้วย 2 คน เพื่อเซ็นต์รับยินยอม ซึ่งก็จะเป็นใครก็ได้ค่ะที่เรารู้จักโดยเฉพาะพ่อแม่นี่แนะนำมาก ๆ เลย แต่ก็มีบางกรณีที่ไม่ได้นำพยานไปด้วยค่ะ ซึ่งทางเขตเขาก็จะมีวิธีแก้ไขที่คล้าย ๆ กันนั่นก็คือให้ผู้ที่อยู่ในบริเวณนั้นหรือจะเป็นคู่ที่จะจดทะเบียนที่อยู่ต่อจากเรามาทำการเซ็นต์ยินยอมให้ กรณีที่ไม่มีพยานไปเซ็นต์รับจริง ๆ นะคะ แต่ที่ดีควรให้เป็นคนในครอบครัวไปเป็นพยานจะดีที่สุด ซึ่งในส่วนนี้พยานก็จะต้องนำบัตรประชาชนตัวจริงมายืนยันตัวตนด้วยเช่นเดียวกัน
ซึ่งเขาก็จะให้พยานทั้งสองมาเซ็นต์รับทราบใน แบบฟอร์ม ครม.2 ค่ะ ซึ่งก็จะถือว่าใบนี้เป็นใบสำหรับการจดทะเบียนสมรสแล้ว ซึ่งก็จะเป็นการเซ็นต์ยินยอมทั้งในเรื่องของการจดทะเบียนสมรสที่เปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนนามสกุลหรือเรื่องคำนำหน้าชื่อก็จะอยู่ในเอกสารนี้ และเมื่อทำเสร็จแล้วเจ้าหน้าที่ก็จะให้ใบ ครม.3 ซึ่งจะเนใบสำคัญการจดทะเบียนสมรสที่เราเคยเห็นกัน โดยเขาก็จะพิมพ์มาให้เราทั้งสองฝ่ายเก็บไว้ค่ะ
และนี่ก็เป็นวิธีการหรือขั้นตอนในการจดทะเบียนสมรสแบบไม่เปลี่ยนนามสกุลที่เราได้นำมาแนะนำให้ทุกท่านได้รู้จักกันค่ะ ซึ่งก็ถือว่าเป็นความรู้ดี ๆ ของคนที่กำลังวางแผนจะแต่งงานในเร็ววันและต้องการที่จะไปจดทะเบียนสมรสกันเป็นอย่างมากเลย ซึ่งก็เห็นในหลาย ๆ บริษัทค่ะที่หากจดทะเบียนสมรสแล้วนั้นก็จะมีสวัสดิการดี ๆ ที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการจดทะเบียนสมรสนั้นก็ยังเป็นหลักฐานที่ชี้ชัดว่าคุณและคู่ของคุณได้สมรสกันอบย่าถูกกฎหมายนั่นเอง เพราะฉะนั้นใครที่กำลังจะไปจดทะเบียนสมรสและไม่อยากเปลี่ยนนามสกุลก็ทำตามนี้ได้เลยค่ะ
อ่านบทความ HOW TO จดทะเบียนสมรสออนไลน์ รวดเร็วทันใจ เหมาะกับคู่รักยุคใหม่ 2022