เราเชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยคิดและคาใจว่า สินสมรส คืออะไร ? และทุกอย่างต้องแบ่งครึ่งจริงหรือไม่เป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่น่าสนใจ และเชื่อว่ายังมีอีหลายคนที่ยังไม่ทราบวันนี้เรามาทำความเข้าใจกับเรื่องราวนี้พร้อม ๆ กัน
สินสมรสคืออะไร
สินสมรส หมายถึง ทรัพย์สินที่มีความเป็นเจ้าของร่วมกันระหว่างสามีและภรรยาที่จดทะเบียนสมรสกันแล้ว การบริหารสินสมรส คือการวางแผนด้านการบริหารสินทรัพย์และการจัดการภาระหนี้สิน สิทธิประโยชน์ทางภาษี รวมถึงการทำพินัยกรรมเพื่อการจัดการมรดก
โดยส่วนมาก ทรัพย์สินต่าง ๆ ที่ได้รับมาหลังจากการสมรส จะถูกนับเป็นสินสมรสทันที ไม่สามารถแยกออกจากกันให้กลายเป็นสินส่วนตัวได้ และในกรณีที่ต้องหย่าร้างกันในภายหลัง ทรัพย์สินที่เป็นรสินสมรส จะถูกแบ่งคนละครึ่ง
อย่างไรก็ตาม สามี ภรรยา สามารถแยกกันจัดการสินสมรสได้ และเมื่อมีการแยกทางหรือหย่าร้างกัน ทรัพย์สินนั้น ๆ ที่แยกออกมา จะถือเป็นสินส่วนตัวของแต่ละฝ่าย ซึ่งแบ่งได้ 4 กรณี ดังนี้
- เมื่อตกลงแยกกันจัดการสินสมรส โดยการทำสัญญาก่อนสมรสไว้ก่อน
- เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตกเป็นคนไร้ความสามารถ อีกฝ่ายมีสิทธิ์ร้องขอให้ศาลแยกสินสมรสได้
- เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย จะมีผลให้สินสมรสแยกกันตามกฎหมาย
- เมื่อมีการร้องขอศาลให้แยกสินสมรส ตามแต่สาเหตุต่าง ๆ เช่น ไม่อุปการะเลี้ยงดู มีหนี้สินมากมาย หรือขัดขวางการจัดการสินสมรสโดยไม่มีเหตุอันควร
อะไรบ้างที่ไม่ถือเป็นสินสมรส
สิ่งที่ไม่ใช่สินสมรส จะถูกนับว่าเป็น “สินส่วนตัว” หรือทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนการจดทะเบียนสมรส ไม่ว่าจะเป็นสังหาริมทรัพย์ หรืออสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าทรัพย์นั้นจะใหญ่ หรือเล็ก จะมีค่า หรือไม่มีค่า รวมตลอดทั้งทรัพย์สิทธิ์ต่าง ๆ หรือทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบอาชีพ
และยังรวมไปถึงทรัพย์สินต่าง ๆ ที่ได้มาในระหว่างที่อยู่รวมกัน หรือระหว่างที่เป็นสามีและภรรยากัน หรือให้ด้วยเสน่หา เช่น ของหมั้น, มรดกจากครอบครัว, คอมพิวเตอร์ที่บริษัทให้คู่สมรสมาใช้ในการทำงาน, เงินที่มาจากการขายทรัพย์สินต่าง ๆ ที่ได้มาก่อนแต่งงาน ของเหล่านี้ก็ยังนับว่าเป็นสินส่วนตัวเช่นกัน
ซึ่งสิทธิ์ในสินส่วนตัวเจ้าของจะมีอำนาจในการจัดการ ตัดสินใจได้แต่เพียงผู้เดียว และถึงแม้ว่า คุุณจะนำสินส่วนตัวไปขายหลังจากจดทะเบียนสมรสแล้ว ก็ไม่ต้องกังวลว่าเงินที่ขายมาได้ จะกลายเป็นสินสมรส เพราะตามกฎหมายแล้ว เงินทองที่ได้มาจากการขายทรัพย์สิน ที่ได้มาก่อนการแต่งงาน จะถูกนับว่าเป็นสินส่วนตัวเช่นกัน
หากให้อธิบายแบบเข้าใจง่ายที่สุด สินส่วนตัว ก็คือ สิ่งของต่างๆ ที่คุณมี หรือได้มากก่อนการจดทะเบียนนั่นเอง หรือถ้าสิ่งของเหล่านั้น ได้รับมาด้วยความเสน่ห์หา หรือผู้ให้ พอใจที่จะให้ สิ่งเหล่านี้ ก็นับเป็นสินส่วนตัวทั้งนั้น
หย่ากันแล้วต้องแบ่งสินทรัพย์ยังไง ?
เมื่อถึงทางตันที่คู่สมรสต้องทำการหย่า อย่างที่เข้าใจคือต้องแบ่งทุกอย่างไม่ว่าจะอะไรก็ตามต้องมีความเป็นธรรมและมีคนกลางในการแบ่ง การแบ่งทรัพย์สินคนละครึ่งในคู่กรณี
ส่วนที่เป็นสินสมรส หมายถึงทรัพย์สิน ที่คู่สมรสได้มาระหว่างการสมรส ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใด ได้มาโดยพินัยกรรม หรือการให้โดยเจ้าของมรดกในระหว่างการสมรส หรือระบุให้เป็นสินสมรสพวกทรัพย์สินที่เป็นดอกผลจากสินส่วนตัว อย่างพวกรายได้จากค่าเช่าบ้านที่เป็นเจ้าของกรรม สิทธิ์ก่อนจดทะเบียนสมรส ดอกเบี้ยเงินฝากจากบัญชีส่วนตัวที่มีอยู่ก่อนที่จะจด ทะเบียนสมรสไม่เพียงเท่านี้
เมื่อมีการเกิดการหย่าร้าง หรือแยกทางกัน ไม่ใช่แค่สินทรัพย์เท่านั้นที่จะต้องแบ่งกันหนี้สินต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการอยู่ด้วยกันไม่ว่าจะเป็นหนี้จำนอง หนี้บัตร เครดิต หนี้ผ่อนรถ ก็ต้องแบ่งด้วยเช่นกัน
ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ควรตกลงกันตั้งแต่ก่อนอยู่ด้วยกันหรือตกลงแต่งงานกัน จึงควรที่จะต้องทำการแยกให้ได้ว่าทรัพย์สินที่มีให้ชัดเจน ว่าส่วนไหนเป็นส่วนเป็นสินส่วนตัว ส่วนใดเป็นสินสมรส เพื่อรักษาสิทธิสินทรัพย์ที่ตัวเเป็นเจ้าของกันมาแต่แรกนั่นเอง
สุดท้ายนี้การหย่าเป็นเรื่องที่คนสองคนต้องตัดสินใจอย่างละเอียดอ่อน เพราะมีผลกระทบต่อทั้งด้านการเงินและการใช้ชีวิต หรือบางครอบครัวอาจจะกระทบต่อลูกด้วย ดังนั้นการหย่าหรือการเลือกจบความสัมพันธ์ด้วยอารมณ์มีแต่จะส่งผลกระทบต่อตัวเองทั้งนั้น การพูดคุยกันเพื่อหาทางออกที่ทั้งสองคนพอใจและส่งผลที่ดีต่อลูก ถือเป็นทางออกดีที่สุด
อ่านบทความ 10 อันดับ สถานที่จัดงานแต่ง มินิมอล ที่ไหนดี